- หน้าหลัก
- ข้อมูล อบต.
- นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ข่าว อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- คู่มือปฏิบัติงาน
- มาตรฐานการให้บริการ
- ปฏิทินกิจกรรมในจังหวัด
- ภาพกิจกรรม
- ผลิตภัณฑ์ตำบล
- แหล่งท่องเที่ยว
- วิดีโอ
- กระดานสนทนา
- ผลการดำเนินงาน
- อำนาจหน้าที่
- แผนพัฒนาท้องถิ่น
- กฎหมายและระเบียบ
- เอกสารเผยแพร่
- การมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน
- ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy
- การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
- รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
- การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ประมวลจริยธรรมของพนักงานส่วนตำบล
- การขับเคลื่อนจริยธรรม
- การประเมินจริยธรรมของพนักงานส่วนตำบล
- มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
- การดำเนินการตามมาตราการส่งเสริมคุณธรรม และความโปร่งใส
- รางวัลที่หน่วยงานได้รับ
- ผลการดำเนินงาน
- แบบฟอร์มร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
-
ประวัติความเป็นมาของ อบต.เจ็ดริ้ว
ในอดีตกาลนานมาแล้ว พื้นที่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตอำเภอตลาดใหม่ แขวงเมืองนคร ไชยศรี เป็นป่าละเมาะรกรุงรังด้วยวัชพืชนานาชนิดส่วนมาก เป็นป่า อ้อชุกชุมด้วยสัตว์ต่าง ๆ พื้นที่บางแห่งเป็นที่ดอนบางแห่งเป็นที่ลุ่ม
เมื่อถึงคราวหน้านำหลากน้าจะท่วมเจิ่งนองไปทั่วอาณาบริเวณ จะมีเหลือ อยู่บ้าง ก็เฉพาะ ที่ดอนซึ่งนับว่ายังโชคดี ที่สัตว์ป่าได้พักพิงอาศัยตรง ที่ลุ่มมีสัตว์ น้ำต่าง ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ
เล่ากันมาว่า คราใดอยากรับประทานต้มยำกุ้ง หรือปลาช่อนแป๊ะซะ ก่อน ออกจากบ้าน สั่งให้แม่ครัวปรุงเครื่องไว้ได้เลย เพราะหาได้อย่างง่ายดาย ถ้า เป็นเวลากลางวัน เพียง ถือไม้พลองขนาดพอเหมาะมือไปท่อนหนึ่ง เดินไปที่ ริมหนองริมบ่อก็สามารถเลือกตี ีหัวปลาที่่ตนต้องการได้ตามใจชอบ หากเป็น เวลากลางคืนก็ใช้ตะเกียงรั้วส่องแล้วก็ ปฏิบัติการได้เหมือนกลางวัน ส่วนกุ้งก้าม กรามขนาดตัวเขื่อง ๆ ก็หาไม่ยาก กล่าวคือ พอตกเวลาค่ำคืนเพียงลงไปที่หนอง คลองบึงแล้วใช้มือคลำไปรอบ ๆ ขอบคลองหรือ หนองบึง เพียงแค่นี้ก็จะได้กุ้ง นำมาต้มยำได้
-
วิสัยทัศน์ อบต.เจ็ดริ้ว
1. ส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีพันธกิจดังนี้
1.1 ส่งเสริมความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ส่งเสริมให้ประชาชนนำความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน
2. บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีพันธกิจดังนี้
2.1 ส่งเสริมความรู้หลักธรรมาภิบาล
2.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น
2.3 พัฒนาการบริหารจัดการตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.4 พัฒนามาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหาร สมาชิกสภาพนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง
2.5 ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีพันธกิจดังนี้
3.1 ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ อย่างทั่วถึง
3.2 พัฒนาระบบการศึกษา การกีฬาและนันทนาการ สาธารณสุข ตลอดจน อนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม
อันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.3 ส่งเสริมการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างต่อเนื่อง ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
3.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยงระบบการคมนาคม และขนถ่ายสินค้าเกษตร
3.5 ดำเนินการและประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามย่านชุมชน ที่มืด สองข้างถนน
รวมทั้งการขอขยายเขตไฟฟ้าให้มีกำลังเพียงพอทั่วทั้งตำบล
3.5 ประสานหน่วยงานประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตบริการน้ำประปาให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน
3.5 จัดวางระบบพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทั่วถึง