ผ้าสไบมอญอัตลักษณ์ไทยรามัญหรือที่ชาวมอญทั่วไปเรียกว่า "หญาดฮะเหริ่มโตะ หรือ หญาดฮะเมินโตะ" ซึ่งน่าจะหมายความถึง ผ้าที่มีลวดลายพัฒนามาจากลายของโตกโดยคาดว่า หญาดหมายถึงผ้า ฮะเหริ่ม หมายถึงขอบซึ่งผ้าสไบมอญ เป็นเครื่องแต่งกายแสดงเอกลักษณ์ของชาวมอญ ซึ่งความเป็น ชาวมอญจังหวัดสมุทรสาครบ่งบอกตัวตน บ่งบอกวิถี บ่งบอกชาติพันธุ์สะท้อนผ่านการปักผ้าสไบด้วยรูปแบบลวดลายดอกพิกุล และลายดอกจันทร์ล้อมรอบดอกพิกุล ที่ใช้ห่มยามเข้าวัดหรือในพิธีสำคัญ หญาดฮะเหริ่มโตะ ของทางสมุทรสาครใช้ได้ทั้งชายหญิงโดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาว
แต่ในชายสูงอายุมักใช้ผ้าขาวม้ามากกว่า ขนาดของหญาดฮะเหริ่มโตะ กว้างประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 4 ศอก ปักลายดอกไม้ตรงริมผ้าตลอดทั้งผืน ลายดอกสอดสลับสีสวยงามตัดกับสีพื้นของผืนผ้า ที่นิยมสีสดใส เช่น แดง ส้ม เขียวตองอ่อน เหลือง ขาว ฟ้า ชมพู และนับเป็นงานฝีมือของลูกผู้หญิงมอญอย่าง หนึ่ง ที่จะต้องลงมือทำด้วยตนเองทุกคน ทุกครัวเรือน สไบใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ใส่ไปทำบุญที่วัดตอนเช้า หรือจะแต่งตัวตามวันสำคัญๆ
ด้วยความนิยมทำให้ชาวมอญเจ็ดริ้วนำอัตลักษ์การทำสไบมายกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างรายได้สู่ครัวเรือนและพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดย OTOP สมุทรสาคร ได้มาทำเรื่องราวของสไบมอญเจ็ดริ้ว เผยแพร่ในเพจ facebook OTOP สมุทรสาคร สามารถเลือกซื้อสไบสวยๆ ได้ที่ Facebook : สไบมอญ"เจ็ดริ้ว"
ขอบคุณเนื้อหาจาก คลังข้อมูลชุมชน ขอบคุณรูปถ่ายจากคุณศศิตา ทับไกร
|